คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2539

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ได้มีการทำถนนซอยพิพาทมาแล้วถึงประมาณ30ถึง40ปีและอนุญาตให้ประชาชนใช้เดินเข้าออกมาโดยตลอดแม้เคยมีการห้ามมิให้ฮ. และบุตรของฮ. เดินเพราะบุตรของฮ. ทำเสียงดังและได้เคยห้ามบุคคลที่นำรถไถนาไปวิ่งในทางพิพาทดังกล่าวนั้นก็เป็นเรื่องที่ผู้นั้นทำเสียงดังก่อกวนความสงบสุขและเป็นเรื่องที่จะมาทำให้ถนนเสียหายเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องมีเจตนาที่จะหวงห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเดินในทางพิพาทและการที่เจ้าของที่ดินเดิมช่วยออกเงินกันเองและเรี่ยไรเงินกับผู้ใช้ถนนในซอยมาทำการซ่อมแซมทางพิพาทซื้อเสาไฟฟ้ามาปักก็เป็นเรื่องการปรับปรุงทางพิพาทให้ดีขึ้นและให้ทางพิพาทมีแสงสว่างสะดวกในการใช้ทางพิพาทในเวลากลางคืนมิใช่เป็นเรื่องที่แสดงถึงการสงวนสิทธิไว้ในฐานะเป็นถนนส่วนบุคคลแต่อย่างใดอีกทั้งขณะที่ส.เจ้าของที่ดินเดิมขายที่ดินให้สิบเอกบ.สามีของจำเลยที่1ในแผนที่ของหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ยังได้ระบุไว้ว่าถนนพิพาทเป็นถนนสาธารณประโยชน์อยู่แล้วและร้อยตรีช.ก็ได้ซื้อที่ดินจากส.ในวันเดือนปีเดียวกันกับสามีจำเลยที่1เช่นกันก็แสดงอยู่ว่าขณะที่ซื้อมีทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้วดังนั้นแม้ร้อยตรีช.จะได้ทำป้ายแสดงว่าถนนดังกล่าวเป็นถนนส่วนบุคคลก็ตามก็ไม่ทำให้ทางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวกลับไม่เป็นทางสาธารณะไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกเจ้าของที่ดินเดิมยินยอมให้ที่ดินที่นำมาทำเป็นทางพิพาทเป็นทางเดินของบุคคลทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรไปมาเป็นเวลาหลายสิบปีดังกล่าวข้างต้นย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1กับพวกได้อุทิศที่ดินถนนซอยพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายแล้วทางพิพาทจึงเป็นทางสาธารณะ จำเลยปิดกั้นทางพิพาทซึ่งเป็นทางสาธารณะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่อาจใช้รถบรรทุกดินผ่านทางพิพาทโจทก์ต้องเพิ่มค่าแรงให้แก่ผู้รับเหมานั้นโจทก์เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้แต่ดอกเบี้ยจากค่าแรงที่โจทก์อ้างว่าต้องเสียให้แก่ธนาคารวันละ100บาทนั้นเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสองโจทก์จะต้องนำสืบให้เชื่อได้ว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายดังกล่าวเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้ล่วงหน้ามาก่อนค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ คดีทั้งสองสำนวนนี้จำเลยที่1และโจทก์ที่2ต่างฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับการใช้ทางพิพาทเดียวกันซึ่งก่อนที่จะพิจารณากำหนดว่าฝ่ายใดจะต้องเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กันจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในประเด็นอย่างเดียวกันทั้งสองสำนวนว่าทางพิพาทที่จำเลยที่1อ้างว่าเป็นของตนนั้นตกเป็นทางสาธารณะแล้วหรือไม่ก่อนมูลคดีนี้จึงเกี่ยวกับการชำระหนี้มาจากเหตุการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเดียวกันคดีจึงมีลักษณะเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้และถือว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลสองศาลขัดกันจึงต้องถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่าคือคำพิพากษาของศาลฎีกาในสำนวนแรกนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา146วรรคหนึ่งจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามสำนวนหลังใหม่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะฉะนั้นในสำนวนหลังโจทก์ที่2จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อจำเลยที่1และไม่ต้องชำระค่าเสียหายแก่จำเลยที่1
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146

ผู้พิพากษา

กอบเกียรติ รัตนพานิช
สมมาตร พรหมานุกูล
ชลอ บุณยเนตร

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android