คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3319/2542

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ฟ้องแย้งของจำเลยสืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งมีข้อกำหนดให้ผู้ขอใช้วิธีการชั่วคราวซึ่งใช้สิทธิโดยมิชอบต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว ดังนั้น หากการใช้สิทธิของโจทก์ทั้งสองเป็นไปโดยมิชอบ ก็ต้องบังคับตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในลักษณะนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสองรู้ว่าทางพิพาทไม่ตกอยู่ในภารจำยอม แต่ยังฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและยื่นคำขอคุ้มครองชั่วคราวต่อศาล จนทำให้จำเลยเสียหายต้องรื้อรั้วและยอมให้บุคคลอื่นใช้ทางพิพาท เป็นการกล่าวอ้างว่าเหตุที่ศาลมีคำสั่ง อนุญาตตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์ทั้งสองเป็นความผิด ของโจทก์ทั้งสอง ซึ่งโจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263(1) แต่ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนเมื่อศาลตัดสินให้โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายแพ้คดี ขณะจำเลยยื่นฟ้องแย้งศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำพิพากษา ทั้งยัง ไม่แน่นอนว่าศาลชั้นต้นจะตัดสินให้โจทก์ทั้งสองเป็นฝ่ายแพ้คดีด้วยสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของจำเลยยังไม่เกิด จำเลยยัง ไม่มีสิทธิฟ้องร้อง จึงไม่อาจรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 263

ผู้พิพากษา

อำนวย เต้พันธ์
กำพล ภู่สุดแสวง
ชวลิต ยอดเณร

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android