คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2541

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
แม้โจทก์อ้างสำเนาใบบันทึกรายการเป็นพยานโจทก์โดยไม่ได้ส่งต้นฉบับเอกสาร และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างหรือแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้เพราะเหตุประการใดก็ตามแต่ปรากฏว่า ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 เดือนเศษ โจทก์ได้แถลงขอส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลและให้ฝ่ายจำเลยศาลชั้นต้นอนุญาตและมีการรับสำเนาไปแล้ว ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคล 1 ปาก และอ้างส่งเอกสาร 37 ฉบับ รวมทั้งเอกสารซึ่งเป็นสำเนาเอกสารด้วยแล้วโจทก์แถลงหมดพยาน แสดงว่าโจทก์สืบพยานเอกสารดังกล่าว เสร็จแล้ว แต่จำเลยซึ่งโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ยันตนก็หาได้คัดค้านการที่โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมา สืบว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องกับต้นฉบับเสียก่อนที่ โจทก์จะสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 แม้ภายหลัง ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องคัดค้านการที่โจทก์อ้างสำเนาเอกสาร จำเลยก็กล่าวอ้างแต่เพียงว่าศาลควรจะรับฟังเฉพาะต้นฉบับเอกสาร เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนารับฟังไม่ได้เท่านั้น มิได้คัดค้านโดยตรงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตรงกับต้นฉบับ ทั้งไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่จำเลยไม่อาจคัดค้านได้ ก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคสองถือว่าจำเลยมิได้คัดค้านการอ้างสำเนาเอกสารโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึงห้ามมิให้จำเลยคัดค้านความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 วรรคสาม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125

ผู้พิพากษา

สมลักษณ์ จัดกระบวนพล
สมปอง เสนเนียม
ผล อนุวัตรนิติการ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android