คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4512/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 11 ก.พ. 2552 09:52:04

คำพิพากษาย่อสั้น

 
แม้พยานโจทก์ทั้งสองปากจะมีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันกับจำเลย แต่เมื่อพนักงานสอบสวนได้กันไว้เป็นพยานค่าเบิกความของพยานดังกล่าวอาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ แต่มีน้ำหนักน้อย มิใช่จะรับฟังไม่ได้เลยเสียทีเดียว และถ้าหากโจทก์มีพยานหลักฐานอื่นประกอบแล้ว ก็รับฟังลงโทษจำเลยได้
ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอยู่ในฐานะเป็นคู่ความ จึงมีสิทธิที่จะเรียงคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ตลอดทั้งมีสิทธิเรียงคำฟ้องอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์ได้
เหตุความผิดฐานฆ่าผู้ตายเกิดที่อำเภอ ก. ถือว่าความผิดฐานใช้จ้าง วาน ให้ฆ่าผู้ตาย เกิดในท้องที่ดังกล่าวท้องที่หนึ่งด้วยและคดีได้เริ่มทำการสอบสวนตั้งแต่จับจำเลยยังไม่ได้ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. ซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจย่อมเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 19 ข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินคดีอาญา เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของข้อบังคับดังกล่าวหาทำให้อำนาจสั่งคดีของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ก. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสียไปไม่ การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 19

ผู้พิพากษา

สุรัตน์ ศรีอนุพันธุ์
จำนง นิยมวิภาต
ครีภูมิ สุวรรณโรจน์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android