คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3861/2529

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ผู้ร้องที่ 1 เป็นบุตรจำเลย ผู้ร้องที่ 2 เป็นภรรยาจำเลยนำสืบพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 คำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเท่ากันโดยให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 กับจำเลยได้คนละ 1 ส่วนได้วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์เป็นคุณแก่โจทก์ที่ 2 ที่ 3ย่อมใช้ยันแก่ผู้ร้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคสอง (2) ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วน เมื่อคดีเสร็จสิ้นการสืบพยานโจทก์ ทนายผู้ร้องแถลงขอให้ศาลไปเผชิญสืบที่พิพาทและที่ดินของโจทก์ที่ 2 ที่ 3ทนายโจทก์แถลงคัดค้านเมื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องและโจทก์ที่ 2 ที่ 3 นำสืบมาเป็นการเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่จำเป็นต้องไปเผชิญสืบอีก ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้งดเผชิญสืบ แล้วพิพากษาคดีไปนั้น จึงเป็นการถูกต้องชอบด้วยกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 104 แล้ว เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันส่วนจึงไม่กระทบกระเทือนคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้งดการบังคับคดีในระหว่างที่ผู้ร้องกำลังร้องขอกันส่วน คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293

ผู้พิพากษา

สหัส สิงหวิริยะ
เสวก จันทร์ผ่อง
สาระ เสาวมล

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android