คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2267/2529

 แหล่งที่มา: ADMIN
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
การที่จำเลยทั้งสองทำร้ายกันมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากจำเลยที่2มีเรื่องโต้เถียงกันกับย.ซึ่งเดินมากับจำเลยที่1ก่อนต่อมาจำเลยทั้งสองได้มาพบกันอีกและโต้เถียงกันก่อนที่จะลงมือทำร้ายกันตามพฤติการณ์ถือได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจวิวาททำร้ายแม้ฝ่ายใดจะลงมือทำร้ายก่อนก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะเมื่อสมัครใจวิวาทกันแล้วจะอ้างว่าตนทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อป้องกันสิทธิของตนไม่ได้. คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลฎีกาจะมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงได้เพราะผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้รับรองว่าเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดแต่ข้อเท็จจริงที่คู่ความฎีกานั้นจะต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้ยกปัญหาที่ฎีกาขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย. จำเลยเพียงแต่ชกต่อยกอดปล้ำกันมิได้ใช้อาวุธทำร้ายและเหตุที่ทำร้ายกันก็เกิดจากการวิวาทโต้เถียงไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเคยรับโทษจำคุกมาก่อนพิเคราะห์ถึงพฤติกาณณ์แห่งคดีสิ่งแวดล้อมของจำเลยทั้งสองและสภาพความผิดแล้วศาลรอการลงโทษจำเลยไว้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56ได้.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

ผู้พิพากษา

บุญส่ง คล้ายแก้ว
สุชาติ จิวะชาติ
อำนวย เปล่งวิทยา

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android