คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2546

 แหล่งที่มา: สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 นั้น การขยายระยะเวลาจะพึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ตามคำร้องของทนายจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดสำเนาจากศาล ถือได้ว่ากรณีมีพฤติการณ์พิเศษ แต่การที่ศาลชั้นต้นย้ายที่ทำการโดยขนย้ายทรัพย์สินในวันหยุดราชการ วันธรรมดาซึ่งเป็นวันปฏิบัติราชการปกติ ศาลชั้นต้นยังคงเปิดทำการอยู่และมีประกาศที่ชัดเจนให้ทราบทั่วกันว่าให้คู่ความ ทนายความ และประชาชนติดต่อกับศาลชั้นต้น ณ ที่ทำการใหม่ตั้งแต่วันใดวันราชการอื่นก่อนหน้านี้ยังคงเปิดทำการ ณ อาคารเดิม ไม่ใช่ว่าวันที่ 1 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2543 ศาลชั้นต้นปิดทำการ ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การยื่นคำร้องของทนายจำเลยที่ 2 เมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลาโดยปราศจากเหตุสุดวิสัยแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตก็เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์จำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 14

ผู้พิพากษา

สมบัติ อรรถพิมล
ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน
บรรหาร มูลทวี

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android