คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4706/2553

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 24 ก.พ. 2555 10:04:53

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ดังนั้น หากผู้นำเข้าไม่อุทธรณ์ก็ต้องถือว่าผู้นำเข้าพอใจการประเมิน การประเมินนั้นย่อมเป็นอันยุติ ผู้นำเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้นำเข้าได้รับหนังสือแจ้งการประเมินโดยชอบแล้วมิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการประเมินผิดประเภทพิกัดเป็นผลให้รับฟังได้ว่า สินค้าพิพาทที่จำเลยที่ 1 นำเข้าจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 1211.909 ตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ประเมิน
ฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าอากรไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยมีเจตนาที่หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินอากรที่ขาดจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้นำเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเงินอากรที่ขาดจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้นำเข้าโดยมิได้มีการหลีกเลี่ยงพยายามหลีกเลี่ยงอากร เมื่อการชำระอากรขาดเกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าไม่ถูกต้องมิใช่เกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าถูกต้องแต่โจทก์คำนวณจำนวนเงินอากรผิด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคสาม
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ฉ
  • พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10

ผู้พิพากษา

อิศเรศ ชัยรัตน์
องอาจ โรจนสุพจน์
ไมตรี ศรีอรุณ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android