คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2552

 แหล่งที่มา: สำนักวิชาการ
 เผยแพร่เมื่อ: 14 ก.ค. 2554 14:52:09

คำพิพากษาย่อสั้น

 
คำคัดค้านของจำเลยที่ 3 ในชั้นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นไปตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 35 วรรคหนึ่ง ซึ่งนอกจากระบุว่า จำเลยที่ 3 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์แล้ว ยังระบุว่าการที่จำเลยที่ 3 มอบหมายให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานและดำรงตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 3 ในขณะนั้นไปดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในนามของจำเลยที่ 3 แต่โจทก์กลับนำไปจดทะเบียนในนามของตนเอง อันเป็นการละเมิดสิทธิโดยชอบของจำเลยที่ 3 ด้วย คำคัดค้านของจำเลยที่ 3 ดังกล่าว จึงเป็นการแสดงว่า เครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่มีลักษณะอันพึงจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 (2) เพราะต้องห้ามตามมาตรา 8 (9) คือ เป็นเครื่องหมายการค้าที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือรัฐประศาสโนบาย ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยคำคัดค้านของจำเลยที่ 3 ข้อนี้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 3 อุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงในส่วนนี้ไว้เช่นกัน ดังนั้น การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยประเด็นนี้ จึงชอบด้วย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) แล้ว
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 35
  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8
  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6
  • พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 96

ผู้พิพากษา

พรเพชร วิชิตชลชัย
พลรัตน์ ประทุมทาน
อร่าม เสนามนตรี

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android