คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2352/2552

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 17 ก.พ. 2553 15:02:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
คำว่า "เต้นรำ" ไม่มีกำหนดไว้ในบทนิยามของ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 แต่คำว่า "เต้นรำ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความถึงเคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนดให้เข้าจังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่าลีลาศ โดยปรกติเต้นเป็นคู่ชายหญิง รำเท้า ก็ว่า เช่น ฝรั่งรำเท้า ส่วนคำว่า ลีลาศ หมายความถึง เต้นรำแบบตะวันตกบางชนิด เช่น ออกไปลีลาศ แสดงว่าต้องมีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำหรือลีลาศ ฉะนั้น เมื่อสถานบริการที่เกิดเหตุไม่มีเวทีหรือพื้นที่สำหรับเต้นรำหรือลีลาศได้ จึงไม่ใช่สถานเต้นรำตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3 (1) แม้นักร้องจะชักชวนลูกค้าให้ร่วมสนุกด้วยโดยลูกค้ายืนเต้นหรือนั่งเต้นตามจังหวะเพลงบริเวณโต๊ะอาหารหรือเครื่องดื่ม ก็มิใช่เป็นการจัดให้มีการเต้นรำ
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3

ผู้พิพากษา

วีระวัฒน์ ปวราจารย์
มนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด
เฉลิมชัย ตันตยานนท์

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android