คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2530

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

จำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ จึงต้องใช้รถสำหรับทำการขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของจำเลยที่ 3 เท่านั้น เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 จะได้โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุให้จำเลยที่ 2 ไปแล้ว ก็เป็นเรื่องกรรมสิทธิ์ของรถเมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้บอกเลิกประกอบการขนส่ง แต่กลับยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถไปประกอบการขนส่งตามใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งของจำเลยที่ 3 ได้อีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันประกอบการขนส่ง และถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
  • พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 23

ผู้พิพากษา

สง่า ศิลปประสิทธิ์
ชูเชิด รักตะบุตร์
ธิรพันธุ์ รัศมิทัต

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android