คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2530

 แหล่งที่มา: ADMIN
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

บริษัทจำเลยกำหนดให้พนักงานขับรถยนต์ส่วนกลางเข้าทำงานวันละ 24 ชั่วโมง หยุดพักวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง ต่อมาจำเลยดำริให้เปลี่ยนเป็นทำงานเป็นผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง แต่พนักงานขับรถยนต์ของจำเลยขอให้กำหนดเวลาทำงานเช่นเดิมโดยอ้างว่าต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเลยก็ได้ตกลงยินยอมกำหนดเวลาทำงานของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยในภายหลังก็ย่อมต้องถูกผูกพันตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว การทำงานของโจทก์จึงมิใช่เป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติอันจะมีสิทธิเรียกเอาค่าล่วงเวลาจากจำเลยได้
ระเบียบของจำเลยกำหนดว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุและได้รับการพิจารณาถึงที่สุด พขร.(พนักงานขับรถ)เป็นฝ่ายผิดพขร.ที่ทำหน้าที่ขับรถจะต้องรับผิดชอบร้อยละหกสิบ ส่วน พขร.ที่นั่งคู่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบร่วมร้อยละสี่สิบดังนี้เมื่อ ส.ขับรถยนต์ของจำเลยด้วยความประมาทเลินเล่อเกิดอุบัติเหตุทำให้จำเลยได้รับความเสียหายขณะที่โจทก์เป็นพนักงานขับรถที่นั่งคู่ จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าเสียหายทั้งหมดได้ ตามระเบียบดังกล่าว และเมื่อโจทก์ได้ยินยอมทำหนังสือรับสภาพหนี้โดยผ่อนชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามได้.
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 11
  • พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 19
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2515 มาตรา 19

ผู้พิพากษา

มาโนช เพียรสนอง
จุนท์ จันทรวงศ์
สีนวล คงลาภ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android