คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4223/2531

 แหล่งที่มา: เนติบัณฑิตยสภา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
เจ้าพนักงานประเมินเรียกตรวจสอบภาษีเงินได้ของโจทก์ โจทก์อ้างว่ามีรายจ่ายที่จำเป็นและสมควรที่จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ขอหักตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจทำการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์โดยคิดหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามประมวลรัษฎากรพระราชกฤษฎีกา ษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 70 พ.ศ. 2520 มาตรา 3บัญญัติไว้ว่าให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 และมิได้มีบทบัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรเพิ่มเติมหรือลดอัตราดังกล่าวได้ ดังนั้นแม้จะมีระเบียบปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์ภายในให้ลดอัตราเหมาลงเสียร้อยละ 10 ของอัตราเหมาที่กฎหมายกำหนดก็ไม่มีผลใช้บังคับได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 ไม่ได้ ต้องหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70ของรายรับ โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่า การที่ทางราชการกรมสรรพากรได้ประเมินภาษีเป็นอัตราเปอร์เซนต์ ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างว่าการประเมินโดยวิธีหักค่าใช้จ่ายโดยเหมาเป็นการไม่ชอบไว้ตั้งแต่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว ศาลจึงวินิจฉัยในปัญหานี้ได้ การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 60 เป็นการชอบหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น โจทก์ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรค 2 และศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
  • ประมวลรัษฎากร มาตรา 30
  • ประมวลรัษฎากร มาตรา 40
  • พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 7

ผู้พิพากษา

ประวิทย์ ขัมภรัตน์
วิฑูรย์ ตั้งตรงจิตต์
เดชา สุวรรณโณ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android