คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2531

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 

บริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีวุตถุประสงค์ในการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาเมื่อประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 ออกมาใช้บังคับก็ไม่ได้ระบุว่ากิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี หลังจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกำหนดให้กิจการรับซื้อฝากอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตเพิ่มขึ้น และให้ถือว่าการประกอบกิจการดังกล่าวเป็นการประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์อย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินกิจการดังกล่าวต่อไปภายในกำหนดตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ 22 และกระทรวงการคลังได้แจ้งชื่อบริษัทโจทก์ไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อแจ้งต่อกรมที่ดินทั้งนับแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับอนุญาตแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ไม่เคยแจ้งโจทก์หรือกรมที่ดินว่าไม่อนุญาตตามคำร้องขอดังกล่าวของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิรับซื้อฝากที่ดินพิพาทได้โดยชอบ และมีอำนาจฟ้อง
เมื่อโจทก์มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องและดำเนินคดีแทนแล้วอ. ย่อมมีอำนาจทำคำให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยได้โดยโจทก์ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจและแต่งทนายความให้กระทำการดังกล่าวอีก
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177

ผู้พิพากษา

เสรี แสงศิลป์
สุทิน นนทแก้ว
อากาศ บำรุงชีพ

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android