คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลา กำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้ว จำเป็นต้องรักษาตัวต่อไป มีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน 120 วัน โดยไม่ได้รับเงินเดือน แต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้ว และหยุดงานเกินกว่า 120 วันต่อมาอีก จำเลยให้โจทก์ออกจากงาน ระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรัง จึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน ที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าว จึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้าง ทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิด อันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์
โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลย จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 583
  • ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มาตรา 47

ผู้พิพากษา

สุพจน์ นาถะพินธุ
จุนท์ จันทรวงศ์
มาโนช เพียรสนอง

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android