คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2529

 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา
 เผยแพร่เมื่อ: 1 ม.ค. 2513 07:00:00

คำพิพากษาย่อสั้น

 
โจทก์ฟ้องขอค่าขาดไร้อุปการะ แม้จะไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ควรได้เป็นรายเดือน รายปีเท่าไร เป็นเวลานานเท่าใดก็ตามเมื่อได้ระบุจำนวนที่ขอมา ศาลก็พิจารณากำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยประกอบกิจการรถทัวร์รับส่งคนโดยสาร ได้เช่ารถทัวร์คันเกิดเหตุมาแล่นรับส่งคนโดยสารแทนรถทัวร์ของจำเลยซึ่งเสียอยู่ การที่คนขับรถทัวร์ได้ขับรถทัวร์ในกิจการของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้กำหนดและใช้ให้กระทำนั้น คนขับรถทัวร์จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อตัวแทนของจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
การใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าขาดไร้อุปการะ ต้องพิจารณาถึงโอกาสแห่งการมีชีวิตของผู้ขอด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ผู้ขอมีอายุ 90 ปีเศษขณะยื่นฟ้องและได้ถึงแก่กรรมเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 90,000 บาท จึงสูงไป โจทก์ที่ 1 ควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะเพียง 45,000 บาท
เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาทของคนขับรถทั้งสองคัน ทำให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นตัวการและนายจ้างร่วมรับผิดด้วย ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจำเลยคนใดต้องรับผิดเฉพาะส่วนไหน เท่าใด จำเลยทุกคนจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวอย่างลูกหนี้ร่วม
 
 
 
 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172

ผู้พิพากษา

ปลื้ม โชติษฐยางกูร
มาโนช เพียรสนอง
อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง

แอปพลิเคชั่นค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา

ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for iOS ค้นหาฎีกา (Easy Deka) for Android